ReadyPlanet.com
dot


40


ถังดับเพลิง และอุปกรณ์

 

เครื่องดับเพลิงแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับประเภทเพลิงที่เกิดขึ้น ดังนั้นเราต้องรู้ประเภทของเพลิงก่อน
ประเภทเพลิง
  • เพลิงประเภท A คือ เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก ยางเป็นต้น
  • เพลิงประเภท B คือ เพลิงที่เกิดจากก๊าซของเหลวติดไฟ ไข และน้ำมันต่างๆ
  • เพลิงประเภท C คือ เพลิงที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า
  • เพลิงประเภท D คือ เพลิงที่เกิดจากสารเคมีที่ติดไฟได้
 
 
ชนิดของถังดับเพลิง

 

 
ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง บรรจุถังสีแดง ภายในบรรจุผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจน ลักษณะน้ำยาที่ฉีดออกมาเป็นฝุ่นละอองสามารถดับเพลิงไหม้ทุกชนิดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง เช่นเพลิงไหม้ที่เกิดจากไม้ กระดาษ สิ่งทอ ยาง น้ำมัน แก๊ส และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกประเภท
เหมาะสำหรับใช้ในที่โล่งแจ้ง บ้าน อาคารขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมโรงเรียน เป็นต้น มีหลายขนาดให้ท่านเลือกใช้ ได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ 5 ปอนด์ 10 ปอนด์ และ 15 ปอนด์
 
ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ หรือ CO2
ถังดับเพลิง ชนิด CO2 บรรจุถังสีแดง น้ำยาดับเพลิง เป็นน้ำแข็งแห้ง ที่บรรจุไว้ในถัง ที่ทนแรงดันสูง ประมาณ 1800 PSI ต่อตารางนิ้ว ที่ปลายสายฉีด จะมีลักษณะเป็นกระบอกหรือกรวย เวลาฉีด ลักษณะน้ำยาที่ออกมา จะเป็นหมอกหิมะ ที่ไล่ความร้อน และออกซิเจน สามารถใช้กับไฟชนิด B C
เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคาร ไฟที่เกิดจากแก๊ส น้ำมัน และไฟฟ้า เครื่องดับเพลิงชนิด CO2 มีหลายขนาดให้ท่านเลือกใช้ ได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ 5 ปอนด์ 10 ปอนด์ และ 15 ปอนด์
 

 
 
 
 
ถังดับเพลิงชนิด BF 2000
ถังดับเพลิงชนิด BF 2000 บรรจุถังสีเขียว น้ำยาเป็นสารเหลวระเหยชนิด BF 2000 (FE 36) สำหรับเครื่องดับเพลิงชนิดหูหิ้ว น้ำยาดับเพลิงชนิดทดแทนนี้ ได้รับการยอมรับว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพ การทดสอบโดยใช้ cup-burn ชี้ให้เห็นว่าน้ำยา BF 2000 (FE 36) จะต้องมีความเข้มข้น อย่างน้อยร้อยละ 7.5 ในการใช้สารดับเพลิง ในการทดสอบแบบ scale-up ได้พิสูจน์ว่าน้ำยา BE 2000 (FE 36) สามารถใช้ได้กับไฟชนิด A B และ C , BF 2000 (FE 36) ไม่แสดงปฎิกิริยากับวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป เช่น อลูมินั่มสตีล ทองแดง ในระดับอุณภูมิปกติ เครื่องดับเพลิงชนิด BF 2000 ลักษณะการฉีดออกเป็นแก๊สเหลวระเหย น้ำยาชนิดนี้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ หลังการดับเพลิงและสามารถใช้ได้หลายครั้ง
เหมาะสำหรับ ที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร ในอุตสาหกรรม อิเลคโทรนิกส์ เรือ เครื่องบิน และรถถัง มีหลายขนาดให้ท่านเลือกใช้ได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ 5 ปอนด์ 10 ปอนด์ และ 15 ปอนด์
 
 
 
 ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม ตัวถังดับเพลิงทำด้วยสแตนเลส ภายในเป็นน้ำยาโฟม โดยแรงดันที่อัดไว้จะดันน้ำผสมกันโฟมยิงผ่านหัวฉีดฝักบัวพ่นออกมาเป็นฟองกระจาย ไปปกคลุมบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ทำให้เกิดการอับอากาศ ทำให้ไฟขาดออกซิเจนและลดความร้อน มีคุณสมบัติพิเศษโดยมีแผ่นฟิล์มน้ำปิดไอเชื้อเพลิงปกคลุมไม่ให้ไฟย้อนติดขึ้นมาอีกสามารถใช้ได้กับไฟชนิด A B 
เหมาะสำหรับ บ้านพักอาศัย ร้านจำหน่ายน้ำมันและสี ปั้มน้ำมัน หรือดับไฟที่เกิดจากน้ำมันชนิดต่างๆ น้ำยาโฟมชนิดนี้ห้ามดับเพลิงที่เกิดจากระบบไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า มีขนาด 20 ปอนด์
ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม
 
 
 

 
 
วิธีการบำรุงดูแลรักษาถังดับเพลิง
 

ดูแลรักษาจากภายนอก ตรวจสอบสภาพของสายฉีด ไม่แตก หัก หรือรั่ว และตัวถังไม่ผุกร่อนขึ้นสนิม

 

  • ดูแลรักษาน้ำยาในถัง โดยหมั่นพลิกถังดับเพลิง กลับหัวลง เพื่อตรวจสอบว่า น้ำยาดับเพลิงในถังยังคงสภาพเดิม (เป็นของเหลว) ไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง
  • ดูแลแรงดัน ตรวจสอบความดันของถังดับเพลิงว่ายังอยู่ในช่วงที่กำหนด โดยดูจาก Gauge วัด โดยถ้าเข็มยังคงอยู่ในช่วงแถบสีเขียว แสดงว่า ถังดับเพลิงนั้นยังอยู่ในสภาพใช้การได้
               
 
 
 การป้องกันและระงับอัคคีภัย
ไฟ คือ ปฏิกิริยาการเติมออกซิเจน ของสารใดสารหนึ่ง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีแล้วทำให้เกิดการเผาไหม้ ควัน ความร้อน แสง ไอน้ำ และอื่นๆ ตามมา
 
องค์ประกอบของไฟ
 
มีด้วยกันอยู่ 3 อย่าง คือ
1. เชื้อเพลิง มีด้วยกันอยู่ 3 สถานะ แต่เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็งและของเหลวต้องได้รับความร้อนถึงจุด จุดหนึ่งซึ่งเรียกว่า จุดวาปไฟหรือจุดคายไอ ซึ่งหมายถึงเชื้อเพลิงอยู่ในสถานะเป็นไอหรือเป็นก๊าซนั้นเอง และพร้อมที่จุดติดเป็นไฟ
2. ออกซิเจน ที่อยู่ในบรรยากาศมีอยู่ 21 % แต่ออกซิเจนที่ใช้ในการจุดติดของไฟต้องมีอยู่ในบรรยากาศ ไม่ต่ำกว่า 16% จึงจะทำให้เกิดการจุดติดขึ้นได้ 
3. ความร้อน หมายถึง ความร้อนที่ไปยกอุณหภูมิจากจุดวาปไฟให้ถึง จุดติดไฟ
 
พัฒนาการของไฟ

1. ไฟขึ้นต้น หมายถึง เมื่อไฟเริ่มเกิดตั้งแต่เวลา 0-4 นาที ทำให้เกิดความร้อนตั้งแต่ 0-200 องศาเซนเซียส 

2. ไฟขั้นกลาง หมายถึง เมื่อไฟเกิดตั้งแต่เวลา 4-8 นาที ทำให้เกิดความร้อนตั้งแต่ 200-600 องศาเซนเซียส

3. ไฟขั้นรุนแรง หมายถึง เมื่อไฟเกิดตั้งแต่เวลา 8 เป็นต้นไป ทำให้เกิดความร้อนตั้งแต่ 1,000 องศาเซนเซียส ขึ้นไป

 

อัคคีภัย คือ ภยันตรายที่เกิดจากไฟจนเกินการควบคุมสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินทั้งของประชาชน ทางราชการ รวมทั้งสภาพแวดล้อม

 

องค์ประกอบของอัคคีภัย

 
มีด้วยกัน 4 อย่าง คือ 
1. เชื้อเพลิง หมายถึง สารใดๆ ที่สามารถจุดติดเป็นไฟได้ มีด้วยกันอยู่ 3 สถานะ แต่เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็งและของเหลวต้องได้รับความร้อนถึงจุด จุดหนึ่งซึ่งเรียกว่า จุดวาปไฟหรือจุดคลายไอ ซึ่งหมายถึงเชื้อเพลิงอยู่ในสถานะเป็นไอหรือเป็นก๊าซนั้นเองและพร้อมที่จุดติดเป็นไฟ
2. ออกซิเจน หมายถึง ที่อยู่ในบรรยากาศมีอยู่ 21 % แต่ออกซิเจนที่ใช้ในการจุดติดของไฟต้องมีอยู่ในบรรยากาศ ไม่ต่ำกว่า 16% จึงจะทำให้เกิดการจุดติดขึ้นได้ 
3. ความร้อน หมายถึง ความร้อนที่ไปยกอุณหภูมิจาก จุดวาปไฟ ให้ถึง จุดติดไฟ
4. ปฏิกิริยาลูกโซ่ หมายถึง การติดต่อลุกลาม ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดสิ้นสุด มีลักษณะเหมือนลูกโซ่
 
 
การเกิดเพลิงไหม้ จะแบ่งส่วนออกเป็น 3 ระดับ
 
1. ระดับ A คือ ระดับล่างสุดจะมีกลุ่มควันน้อยและพอมีออกซิเจน สำหรับหายใจ มีอุณหภูมิตั้งแต่ 0-400 องศาเซนเซียส
2. ระดับ B คือ ระดับกลางห้องจะมีกลุ่มควันหนาแน่นขึ้น และมีออกซิเจนน้อยมาก ไม่สามารถหายใจได้ มีอุณหภูมิตั้งแต่ 400-800 องศาเซนเซียส
3. ระดับ C คือ ระดับบนสุดของห้องมีกลุ่มควันหนาแน่นมาก ไม่มีออกซิเจนสำหรับหายใจ มีอุณหภูมิตั้งแต่ 800 องศาเซนเซียสขึ้นไป
 
 
ขณะเกิดเพลิงไหม้ จะเกิดสิ่งต่อไปนี้
 
1. ความมืด ซึ่งเกิดจากกลุ่มควัน และจากเปลวไฟ ที่ทำให้เกิดการปิดกั้นสายตา ไม่สามารถมองทะลุผ่านไปได้
2. ความร้อน ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่แฝง ที่อยู่ในกลุ่มควันหรือในเชื้อเพลิง ซึ่งเกิดการคายไอ และพร้อมที่จะจุดติดไฟ
3. ไอและควัน ซึ่งเกิดจาการคายไอของเชื้อเพลิง ควันบางอย่างจัดเป็นควันพิษและเกิดภาวะการขาดออกซิเจนในขณะนั้น
4. เวลา ซึ่งในที่นี้หมายถึงเวลาที่ใช้ในการหนีไฟ จะทำการดับเพลิง หรือหนีไฟมีโอกาสเพียง 2 นาที
 
 
ประเภทของไฟ
 
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามมาตราฐาน NFPA 
1.ไฟประเภท A คือ ไฟที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ชนิดธรรมดา เช่น กระดาษ ผ้า หญ้า ฟาง ไม้ หรือ เชื้อเพลิงประเภทใด ๆ ที่สามารถดับด้วยน้ำได้ 
2. ไฟประเภท B คือ ไฟที่เกิดจาการเผาไหม้เชื้อเพลิง ชนิดของเหลว เช่น น้ำมัน ไขข้น ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ เป็นต้น การดับเพลิงทำได้โดยทำให้ออกซิเจนต่ำกว่า 16% ซึ่งเป็นการดับเพลิงที่ดีที่สุด
3. ไฟประเภท C คือ ไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ อุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ส่วนใหญ่เกิดจาก 3 ลักษณะคือ การลัดวงจร การต่อเชื่อม การใช้ไฟเกินขนาด วิธีการ
ดับเพลิงทำได้โดยตัดกระแสไฟฟ้าก่อนทำการดับเพลิง
4. ไฟประเภท D คือ ไฟที่เกิดจากการเผาไหม้โลหะ หรือสารเคมีบางชนิด ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงห้ามใช้น้ำทำการดับเพลิงเพราะ จะทำให้เกิดการระเบิด สิ่งที่นิยมใช้ในการดับเพลิง คือ เครื่องดับเพลิงที่มีเครื่องหมายของไฟประเภท D อยู่ หรือ ใช้ทรายที่แห้ง
ทำการดับเพลิง
 
 
การติดต่อลุกลาม
 
สามารถเกิดได้ 4 อย่างคือ 
1. การนำความร้อน เมื่อโลหะได้รับความร้อนจากจุดใดจุดหนึ่ง ก็สามารถ 
แผ่กระจายความร้อนผ่านเนื้อของโลหะไปยังส่วนอื่นได้ วิธีการนี้ คือการนำความร้อนโดยโลหะ
2. การพาความร้อน เมื่อเกิดความร้อนขึ้นจุดใดความร้อนก็จะหาที่สูงและเคลื่อนตัวไปอากาศเย็นก็จะเข้ามาแทนที่ซึ่งความร้อนนั้นก็จะส่งผ่านให้กับสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนตัวผ่านไป วิธีการนี้ คือ การพาความร้อนโดยอากาศ 
3. การส่งรังสีความร้อน เมื่อเกิดเพลิงไหม้ แม้ไม่มีโลหะหรืออากาศ ความร้อนก็สามารถเคลื่อนตัวผ่านสิ่งต่างๆ ไปได้ โดยการแผ่รังสีความร้อน 
4. การสัมผัสโดยตรง สะเก็ดลูกไฟลอยไปสัมผัสกับเชื้อเพลิงหรือ เชื้อเพลิงสัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง ทำให้เกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง
 
 
เครื่องดับเพลิงเคมีขั้นต้น
 
แบ่งออกเป็น 6 ชนิด
1. ชนิดน้ำธรรมดา บรรจุอยู่ในถังแสตนเลส ไม่ขึ้นสนิม มีแรงดัน 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หัวฉีดเรียวเล็ก ใส่น้ำบริสุทธิ์ เช่น น้ำประปาประมาณ 3 /4 ของถังบรรจุ น้ำ ไม่ตกตะกอน ใช้ดับไฟ ประเภท A 
2. ชนิดกรด – โซดา บรรจุอยู่ในถังที่ทนการกัดกร่อน ประกอบด้วย กรดกำมะถัน และ โซเดียมไบคาร์บอเนต เมื่อใช้งานทำให้กระเปาะที่บรรจุกรดกำมะถันแตกและลงไปผสมกับโซเดียมไบคาร์บอเนตทำให้เกิดปฏิกิริยาและแรงดันฉีดออกไปดับเพลิง ใช้ดับไฟประเภท A แต่เนื่องจากเป็นอันตรายต่อผิวหนังและร่างกาย จึงหยุดการผลิตไปแล้ว
3. ชนิดเคมีโฟม ประกอบด้วยเนื้อโฟม น้ำ และอากาศ อัดด้วยก๊าซไนโตเจน ดันเอาโฟมและน้ำออกมาผสมกับอากาศภายนอกที่หัวฉีด ทำให้เกิดฟอง และฉีดออกไปดับเพลิงโดยมีแรงดัน 100 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ใช้ดับไฟ ประเภท A , B 
4. ชนิดน้ำยาเหลวระเหย บรรจุด้วยน้ำยาชนิด ฮาล่อน หรือ คลีนอะเจ้น มีแรงดัน 125 ปอนด์/ตารางนิ้ว อัดด้วยก๊าซไนโตเจน ใช้ดับไฟ ประเภท A , B ,C 
5. ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ภายใต้แรงดัน อัดด้วยแรงดัน 1,000 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ถังมีความหนาและน้ำหนักมาก ใช้ดับไฟ ประเภท B , C
6. ชนิดผงเคมีแห้ง บรรจุด้วยผงโซเดียมไบคาร์บอเนต อัดก๊าซไนโตรเจน ด้วยแรงดัน 195 ปอนด์/ตารางนิ้ว ใช้ดับไฟ ประเภท A , B
 
 
ทำอย่างไรเมื่อเกิดเพลิงไหม้
 
1.ตั้งสติไม่ตื่นเต้น จนเกินไปดูให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นแจ้งให้ผู้อื่นทราบ
2.ตรวจสอบเป็นไฟประเภทใด เพื่อทำการดับเพลิงได้อย่างถูกวิธี
3.เลือกเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมในการดับไฟ และทำการดับเพลิงขั้นต้น
4.ติดต่อ หรือ โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าสนับสนุนการดับเพลิง
5.ออกจากที่เกิดเหตุ และไม่กลับเข้าไปอีก
 
 
หลักแห่งความปลอดภัย
 
1.จัดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2.การตรวจตราพร้อมซ่อมบำรุง
3.ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
4.ให้ความร่วมมือ

 



หน้า 1/1
1
[Go to top]



E - M a i l : E A S a l a r m @ h o t m a i l . c o m

บริษัท อี เอ เอส อลาร์ม จำกัด.
ที่อยู่ :  เลขที่ 119/23 ถนนสุขุมวิท (สี่แยกอัสสัมชัญ) ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110 โทร 038-775524-5 Hotline คุณชวลิต 0990-800-800